วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

จุลินทรีย์แล็กโทบาซิลลัส

แล็คโตบาซิลัส จุลินทรีย์ที่อยู่ในยาคูลท์
           จุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) จะช่วยรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้ของเรา ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารอีกด้วยค่ะ
           แล็คโตบาซิลัส จะสามารถทนทานต่อกรดและน้ำย่อยในร่างกายและสามารถเกาะติดผนังเยื่อบุลำไส้ได้ดี และช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายค่ะ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าหากจุลลินทรีย์สามารถเกาะติดกับเยื่อบุผนังลำไส้และแบ่งตัวเพิ่มขึ้นก็จะช่วยป้องกันมิให้จุลลินทรีย์ชนิดที่ก่อโรคเกาะติดลำไส้และหลั่งสารพิษออกมา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเยื่อบุลำไส้อักเสบจนเกิดท้องร่วงขึ้นมานั่นหละค่ะ
             ดังนั้นคุณสมบัติของการเกาะติดผนังลำไส้ของจุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัส จึงมีความสำคัญมาก เพราะจะสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ E.Coli ที่ทำให้เกิดท้องร่วง หรือเชื้อSalmonella ที่ทำให้เกิดโรคไทฟอยด์ แต่จุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัส
จะไม่ทำอันตรายต่อเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ตาม ธรรมชาติของเราค่ะ อะไรจะดีขนาดนี้….
            นอกจากนี้จุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัสยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายเช่นเดียวกับวัคซีนอีกด้วยค่ะ จากผลการทดลองบ่งชี้ว่าจุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัสที่รับประทานเข้าไปในลำไส้สามารถช่วยป้องกันโรคหรือภาวะผิดปกติบางอย่างของร่างกายได้ด้วยค่ะ เช่น อาการอักเสบต่างๆ โรคภูมิแพ้ และภาวะการดูดซึมอาหารบกพร่อง
                  Probiotic คืออะไร?        คำว่า โปรไบโอติก (Probiotic) ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ Lilly และ Stillwell ในปี พ.ศ. 2508 เพื่อกล่าวถึงสารที่จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งขับออกมา และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งเป็นการทำงานที่ตรงข้ามกับการทำงานของยาปฏิชีวนะ (antibiotic) ที่จะทำลายจุลินทรีย์เกือบทุกชนิด
       
ในปี พ.ศ. 2517 Parker ได้ให้คำจำกัดความว่า โปรไบโอติก คือสิ่งมีชีวิตและสารเคมีที่มีผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
       
คำจำกัดความล่าสุด ซึ่งเสนอโดย Fuller ในปี พ.ศ. 2532 อธิบายคำว่า โปรไบโอติก คืออาหารเสริมซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต สามารถก่อประโยชน์ต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ โดยการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย        

       
คำว่าจุลินทรีย์ (micro-organism) หมายถึงสิ่งมีชีวิตซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่อาจมีโทษหรือมีประโยชน์ต่อเราก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ ไวรัส, ราหรือยีสต์, แบคทีเรีย และ พาราไซต์
       ไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุดได้แก่ เชื้อเอดส์, งูสวัด, และ เริม เป็นต้น
ราหรือยีสต์ ได้แก่ โรคผิวหนังที่ขึ้นตามที่อับชื้น มักทำให้มีอาการคัน
พาราไซต์ ได้แก่ เชื้อไข้มาเลเรีย

       
แบคทีเรีย น่าจะเป็นคำที่รู้จักแพร่หลายมากที่สุดในบรรดาจุลินทรีย์ที่กล่าวมาแล้ว และคนก็มักนึกถึงแต่เชื้อโรคอย่างเดียว ตัวอย่างของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ เชื้อวัณโรค เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ หรือเชื้อที่ทำให้เราท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ เป็นต้น  แต่ยังมีแบคทีเรียที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายเรา ได้แก่แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกได้ ซึ่งอาจเรียกว่า แลคติกแอซิดแบคทีเรีย แบคทีเรียที่ดีเหล่านี้ คือโปรไบโอติกนั่นเอง ได้แก่ แลคโตบาซิลัส อะซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus), เอนเทอโรคอคคัส ฟีคาลิส (Enterocossus faecalis), สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดัม (Bifidobacterium bifidum)

       
แบคทีเรียที่ดี มีประโยชน์ต่อเรานี้ อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ของเรา ตั้งแต่เราเกิดเป็นทารก ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารและผลิตสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้กับเรา ได้แก่ กรดอะมิโน กรดแลคติก พลังงาน ไวตามินเค ไวตามินบี และสารปฏิชีวนะธรรมชาติหลายชนิด  ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
       1.
กรดแลคติกที่แบคทีเรียผลิตออกมา จะทำให้สภาวะภายในลำไส้ มีความเป็นกรดมากพอที่จะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค
       2.
ทำให้ระบบขับถ่ายดี ไม่เกิดการหมักหมมของของเสียในร่างกาย เป็นการลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับ
       3.
ไวตามินบีที่ได้ จะทำให้เซลล์ในระบบภูมิต้านทานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงดีขึ้นด้วย
       4.
ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง และกำจัดสารก่อมะเร็งบางชนิด
       5.
แลคติกแอซิดแบคทีเรีย ยังช่วยลดระดับน้ำตาลและโคเลสเตอรอลในเลือดด้วย
       6.
นอกจากนี้ ยังผลิตเอนไซม์แลคเตส ซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม ทำให้เราไม่มีอาการท้องอืดจากการดื่มนม และช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น