วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

งานบวช

               งานบวชนับว่าเป็นธรรมเนียมประเพณีของชาวไทย ที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะผู้ที่มั่นคงในพระพุทธศาสนา มีจุดมุ่งหมายให้บุตรของตนได้เป็นศาสนทายาท สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไป อีกประการหนึ่งคือ ต้องการปลูกฝังบุตรของตนได้เรียนรู้หลักของพระศาสนา เพื่อจะได้นำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตการครองเรือนต่อไป กุลบุตรผู้จะบวชต้องมีอายุครบยี่สิบปีบริบูรณ์ เมื่ออายุครบบวชและสมัครใจจะบวชแล้ว พ่อแม่จะนำบุตรของตนไปหาเจ้าอาวาสวัดใกล้บ้าน หรือวัดที่ตนเป็นทายกทายิกาแห่งวัดนั้นอยู่ เพื่อมอบตัวให้ท่านบวชให้ การไปมอบตัวควรจัดดอกไม้ ธูปเทียน ไปถวายในการมอบตัวด้วย พระอุปัชฌาย์จะสอบถามพ่อแม่ หรือผู้ที่ขอบวชเอง ถึงวันเดือนปีเกิด และคุณสมบัติของผู้ที่จะขอบวช ถ้าเห็นว่ามีคุณลักษณะครบถ้วน ไม่เป็นคนต้องห้ามในการที่จะให้บรรพชาอุปสมบท ท่านก็จะรับเข้าบวช โดยมอบใบสมัครขอบรรพชาอุปสมบท และใบรับรองให้ไปกรอกรายการแล้วถวายท่านเป็นหลักฐาน ก่อนถึงวันบรรพชาอุปสมบทไม่น้อยกว่า ๑๕ วัน จากนั้นก็นัดหมายให้ผู้ที่จะบวชซึ่งเรียกว่า นาคหรือเจ้านาค มาฝึกซ้อมการปฏิบัติเกี่ยวกับพิธีบวช และกำหนดวันที่จะทำการบรรพชาอุปสมบท เมื่อมอบตัวแล้วต้องจัดเตรียมหาเครื่องบวชคือ บริขาร ๘ ดังมีในบาลี ดังนี้ ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสี สจิ จ พนฺธนํ ปริสฺสาวเนนทฏฺเฐเต ยุตุตโยคสฺส ภิกฺขุโน ได้แก่ ไตรจีวร บาตร พร้อมทั้งถลกบาตร มีด (มีดโกน) พร้อมหินลับมีด เข็มพร้อมทั้งกล่องและด้าย ประคตเอวรวมอยู่กับไตรจีวร และกระบอกกรองน้ำ เครื่องใช้อย่างอื่นเป็นส่วนประกอบในการบวช เช่น เสื่อ หมอน มุ้ง ร่ม รองเท้า ถุงย่าม กาน้ำ จาน ช้อน แปรง ยาสีฟัน สบู่ ขันน้ำ เครื่องใช้สำรอง เช่น ผ้าอาบน้ำ สบง ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขาวสำหรับนาคนุ่งวันบวช อย่างละหนึ่งผืน สำหรับไทยทาน ควรจัดไทยทานสำหรับถวายพระอุปัชฌาย์หนึ่งที่ สำหรับถวายพระคู่สวดสองที่ และสำหรับถวายพระอันดับ ๒๒ ที่ โดยมากนิยมนิมนต์พระในพิธีบวช ๒๕ รูป พร้อมทั้งพระอุปัชฌาย์และคู่สวด นาคจะต้องเตรียมท่องคำขานนาคให้ได้ การฝึกซ้อมการขานนาคมีสองแบบคือ แบบเก่าและแบบใหม่ แบบเก่าควรปฏิบัติ ดังนี้ ก่อนจะเข้าไปหาพระสงฆ์ทำพิธีบวช นาคจะนั่งอยู่แถวผนังโบสถ์ ด้านหน้าตรงกับพระประธาน เมื่อได้เวลาพ่อแม่พร้อมญาติ จะมอบผ้าไตรให้นาค โดยหยิบผ้าไตรจากพานแว่นฟ้า หากมีดอกไม้สดหุ้มไตรต้องหยิบมาด้วย นาคจะได้นำไปถวายพร้อมผ้าไตร เพื่อจะนำไปบูชาพระประธาน หากเป็นดอกไม้แห้งควรหยิบถอดออกไปเหลือแต่ผ้าไตรอย่างเดียว พ่อแม่จับผ้าไตรด้วยกันนั่งอยู่หน้านาค ส่วนนาคต้องนั่งคุกเข่ากราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วยื่นแขนออกไปรับไตรจีวร พ่อแม่วางให้บนท่อนแขน แล้วควรหลีกออกไปสองข้าง นาคอุ้มผ้าไตรไปหาพระอุปัชฌาย์ พอใกล้ที่นั่งสงฆ์ต้องทรุดตัวลงนั่งแล้วเดินเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ ประเคนผ้าไตรให้ท่านแล้ว คอยเอี้ยวตัวมาทางขวามือรับเครื่องสักการะทุกอย่างถวายพระอุปัชฌาย์ แล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง พระอุปัชฌาย์จะมอบผ้าไตรให้นาครับแล้วลุกขึ้นยืนก้มตัวพองามเตรียมว่าคำขานนาค ดังนี้

อุกาส วันฺทามิ ภนฺเต , สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต มยา กตํ ปุญญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปญญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ สาธุ สาธุ อุนุโมทามิ , อุกาส การุญฺญํ กตฺวา ปพฺพชฺชํ เทถ เม ภนฺเต (นั่งคุกเข่าลงว่า) อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต ปพฺพชฺชํ ยาจามิ สพฺพทุกฺขนิสฺสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺ ถาย , อิมํ กาสาวํ คเหตฺวา ปพฺพาเชถ มํ ภนฺเต , อนุกมฺปํ อุปาทาย (ว่าสามหน) จบแล้วน้อมถวายผ้าไตรให้กับพระอุปัชฌาย์ และกล่าวคำขอผ้าต่อไปว่า สพฺพทุกฺขนิสสรณ นิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย , เอตํ กาสาวํ ทตฺวา ปพฺพา เชถ มํ ภนฺเต อมุกมฺปํ อุปาทาย (ว่าสามหน) จบแล้วกราบสามครั้ง ลงนั่งพับเพียบประนมมือฟังโอวาทจากพระอุปัชฌาย์ต่อไป จนกระทั่งสอนกัมมัฏฐาน นาคคอยว่าตามว่า เกสา โลมา นขา ทนฺตา ตโจ (เป็นอนุโลม) ตโจ ทนฺตา นขา โลมา เกสา (เป็นปฏิโลม) เมื่อสอนกัมมัฏฐานเสร็จแล้ว จะมอบผ้าไตรให้ไปห่ม ถึงตอนนี้ท่านจะบอกให้นาคลุกขึ้นนั่งคุกเข่า หากสวมเสื้อคลุมไว้ หรือสวมเครื่องประดับต่าง ๆ หรือผ้าสไบเฉียงไว้ ท่านจะให้ถอดออก แล้วท่านจะคล้องอังสะให้ นาคต้องก้มศีรษะเตรียมให้ท่านสวม เสร็จแล้วคอยรับผ้าไตรที่ท่านจะมอบให้ไปห่มอุ้มไว้ แล้วถอยออกมาให้พ้นพระสงฆ์ก่อนจึงลุกขึ้นเดินตามพระสงฆ์ที่ท่านให้ไปช่วยห่อผ้าให้ เมื่อห่มผ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระสงฆ์จะพามานั่งหน้าพระคู่สวดที่จะให้ศีล นั่งคุกเข่าข้างหน้าปูผ้ากราบไว้แล้วรับเครื่องสักการะประเคนท่าน กราบเบญจางคประดิษฐ์สามครั้ง แล้วลุกขึ้นยืน ก้มตัวลงเล็กน้อย กล่าวคำขอศีล ดังนี้ อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา ภตํ ปญฺญํ สามินา อมุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปุญฺญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทานิ , อุกาส การุญฺญํ กตฺวา ติสรเณน สห สีลานิ เทถ เม ภนฺเต แล้วนั่งคุกเข่าว่า อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจามิ ทุติยมฺปิ อหํ ภนฺเต สรณสีลํ ยาจามิ ตติยมฺปิ อหํ ภนฺเต สรณสีลัง ยาจามิ นโม ตสฺส ภควาโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (สามหน) นาคว่าตามแล้วพระอาจารย์จะบอกว่า ยมหํ วทามิ ตํ วเทหิ นาครับว่า อาม ภนฺเต แล้วพระอาจารย์จะให้ไตรสรณาคมน์ นาคว่าตามท่านทีละวรรค ดังนี้ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ทุติยมฺป สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ ตติยมฺปิ สงฺฆงฺ สรณํ คจฺฉามิ จบแล้วพระอาจารย์ถามว่า ติสรณคมนํ นิฏฐิตํ นาครับว่า อาม ภนฺเต แล้วพระอาจารย์จะให้ศีลสิบต่อไปทีละสิกขาบท นาครับว่าตามทีละสิกขาบท ดังนี้ ปาณาติปาตา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ อทินฺนา ทานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ อพฺรหมฺ จริยา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ มุสาวาทา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ วิกาลโภชนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ มาลาคนฺธวิเลปน ธารณ มณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ อุจ จา สยนมหา สยนา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ชาตรูป รชต ปฏิคฺคหณา เวรมณีสิกฺขาปทํ สมาทิยามิ อิมานิ ทส สิกฺขาปทานิ สมาทิยามิ นาคว่าสามครั้ง แล้วกราบหนึ่งครั้ง จากนั้นลุกขึ้นยืนว่า อุกาส วนฺทามิ ภนฺเต , สพฺพํ อปราธํ ขมถ เม ภนฺเต , มยา กตํ ปุญฺญํ สามินา อนุโมทิตพฺพํ , สามินา กตํ ปุญฺญํ มยฺหํ ทาตพฺพํ , สาธุ สาธุ อนุโมทามิ แล้วนั่งลงกราบสามครั้ง เป็นอันเสร็จพิธีบรรพชาเป็นสามเณร

จุลินทรีย์แล็กโทบาซิลลัส

แล็คโตบาซิลัส จุลินทรีย์ที่อยู่ในยาคูลท์
           จุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัส (Lactobacillus) จะช่วยรักษาสมดุลของระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะลำไส้ของเรา ช่วยเพิ่มภูมิต้านทานและช่วยให้สุขภาพเราดีขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุกระเพาะอาหารอีกด้วยค่ะ
           แล็คโตบาซิลัส จะสามารถทนทานต่อกรดและน้ำย่อยในร่างกายและสามารถเกาะติดผนังเยื่อบุลำไส้ได้ดี และช่วยกระตุ้นภูมิต้านทานของร่างกายค่ะ จากการศึกษาวิจัยพบว่า ถ้าหากจุลลินทรีย์สามารถเกาะติดกับเยื่อบุผนังลำไส้และแบ่งตัวเพิ่มขึ้นก็จะช่วยป้องกันมิให้จุลลินทรีย์ชนิดที่ก่อโรคเกาะติดลำไส้และหลั่งสารพิษออกมา ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเยื่อบุลำไส้อักเสบจนเกิดท้องร่วงขึ้นมานั่นหละค่ะ
             ดังนั้นคุณสมบัติของการเกาะติดผนังลำไส้ของจุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัส จึงมีความสำคัญมาก เพราะจะสามารถหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ E.Coli ที่ทำให้เกิดท้องร่วง หรือเชื้อSalmonella ที่ทำให้เกิดโรคไทฟอยด์ แต่จุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัส
จะไม่ทำอันตรายต่อเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ตาม ธรรมชาติของเราค่ะ อะไรจะดีขนาดนี้….
            นอกจากนี้จุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัสยังช่วยเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายเช่นเดียวกับวัคซีนอีกด้วยค่ะ จากผลการทดลองบ่งชี้ว่าจุลลินทรีย์แลคโตบาซิลัสที่รับประทานเข้าไปในลำไส้สามารถช่วยป้องกันโรคหรือภาวะผิดปกติบางอย่างของร่างกายได้ด้วยค่ะ เช่น อาการอักเสบต่างๆ โรคภูมิแพ้ และภาวะการดูดซึมอาหารบกพร่อง
                  Probiotic คืออะไร?        คำว่า โปรไบโอติก (Probiotic) ถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกในรายงานการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของ Lilly และ Stillwell ในปี พ.ศ. 2508 เพื่อกล่าวถึงสารที่จุลินทรีย์ชนิดหนึ่งขับออกมา และช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์อีกชนิดหนึ่ง  ซึ่งเป็นการทำงานที่ตรงข้ามกับการทำงานของยาปฏิชีวนะ (antibiotic) ที่จะทำลายจุลินทรีย์เกือบทุกชนิด
       
ในปี พ.ศ. 2517 Parker ได้ให้คำจำกัดความว่า โปรไบโอติก คือสิ่งมีชีวิตและสารเคมีที่มีผลต่อสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้
       
คำจำกัดความล่าสุด ซึ่งเสนอโดย Fuller ในปี พ.ศ. 2532 อธิบายคำว่า โปรไบโอติก คืออาหารเสริมซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีชีวิต สามารถก่อประโยชน์ต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ โดยการปรับสมดุลของจุลินทรีย์ในร่างกาย        

       
คำว่าจุลินทรีย์ (micro-organism) หมายถึงสิ่งมีชีวิตซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมากจนมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ที่อาจมีโทษหรือมีประโยชน์ต่อเราก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 4 ชนิดใหญ่ๆ คือ ไวรัส, ราหรือยีสต์, แบคทีเรีย และ พาราไซต์
       ไวรัส เป็นจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุดได้แก่ เชื้อเอดส์, งูสวัด, และ เริม เป็นต้น
ราหรือยีสต์ ได้แก่ โรคผิวหนังที่ขึ้นตามที่อับชื้น มักทำให้มีอาการคัน
พาราไซต์ ได้แก่ เชื้อไข้มาเลเรีย

       
แบคทีเรีย น่าจะเป็นคำที่รู้จักแพร่หลายมากที่สุดในบรรดาจุลินทรีย์ที่กล่าวมาแล้ว และคนก็มักนึกถึงแต่เชื้อโรคอย่างเดียว ตัวอย่างของแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ เชื้อวัณโรค เชื้อที่ทำให้เจ็บคอ หรือเชื้อที่ทำให้เราท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ เป็นต้น  แต่ยังมีแบคทีเรียที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายเรา ได้แก่แบคทีเรียที่ผลิตกรดแลคติกได้ ซึ่งอาจเรียกว่า แลคติกแอซิดแบคทีเรีย แบคทีเรียที่ดีเหล่านี้ คือโปรไบโอติกนั่นเอง ได้แก่ แลคโตบาซิลัส อะซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus), เอนเทอโรคอคคัส ฟีคาลิส (Enterocossus faecalis), สเตรปโตคอคคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดัม (Bifidobacterium bifidum)

       
แบคทีเรียที่ดี มีประโยชน์ต่อเรานี้ อาศัยอยู่ในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ของเรา ตั้งแต่เราเกิดเป็นทารก ทำหน้าที่ช่วยย่อยอาหารและผลิตสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้กับเรา ได้แก่ กรดอะมิโน กรดแลคติก พลังงาน ไวตามินเค ไวตามินบี และสารปฏิชีวนะธรรมชาติหลายชนิด  ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายดังนี้
       1.
กรดแลคติกที่แบคทีเรียผลิตออกมา จะทำให้สภาวะภายในลำไส้ มีความเป็นกรดมากพอที่จะยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค
       2.
ทำให้ระบบขับถ่ายดี ไม่เกิดการหมักหมมของของเสียในร่างกาย เป็นการลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับ
       3.
ไวตามินบีที่ได้ จะทำให้เซลล์ในระบบภูมิต้านทานทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และยังทำให้มีการผลิตเม็ดเลือดแดงดีขึ้นด้วย
       4.
ช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง และกำจัดสารก่อมะเร็งบางชนิด
       5.
แลคติกแอซิดแบคทีเรีย ยังช่วยลดระดับน้ำตาลและโคเลสเตอรอลในเลือดด้วย
       6.
นอกจากนี้ ยังผลิตเอนไซม์แลคเตส ซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม ทำให้เราไม่มีอาการท้องอืดจากการดื่มนม และช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมดีขึ้น

วาสลีน

วาสลีน
วาสลีน อินเทนซีฟ แคร์ เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ได้รับการยอมรับมานานกว่า 20 ปี ในด้านการเป็นผลิตภัณฑ์บำรุงผิวเพื่อสุขภาพของคนไทยทั้งประเทศ
วาสลีน พลิกโฉมสู่สุขภาพผิวระดับสากล
วาสลีนปรับโฉมตัวเองครั้งใหญ่ ปลุกแนวคิด อัศจรรย์ของผิวสุขภาพดีเพื่อให้รูปแบบของผลิตภัณฑ์ก้าวไปสู่ระดับสากลเหมือนกันทั่วโลก ทั้งนี้วาสลีนได้มีการปรับปรุงสูตรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโลชั่นบำรุงผิวครั้งใหญ่ อีกทั้งได้ทำการออกแบบโลโก้ใหม่ ตลอดจนเปลี่ยนแปลงลักษณะบรรจุภัณฑ์ทุกสูตรภายใต้แบรนด์วาสลีนเพื่อก้าวสู่มิติใหม่ที่เน้นสร้าง “Emotional bond” ความผูกพันระหว่างผู้หญิงและผิวกายเพื่อกระตุ้นการดูแลซึ่งกันและกันอย่างถูกต้อง เชื่อผู้หญิงที่รักสุขภาพผิววางใจวาสลีน มั่นใจแน่นอนว่าคราวนี้จะสามารถครองใจทุกเพศทุกวัยได้อย่างเหนียวแน่น แนวคิดอัศจรรย์ของผิวสุขภาพดีหรือ “Skin is amazing” เป็นแคมเปญที่วาสลีนใช้ไปทั่วโลก โดยไขความลับผลการศึกษาด้านผิวกายอันน่าทึ่ง เพื่อกระตุ้นให้สาวๆ ทุกๆ คนได้ตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ และความสำคัญของผิวกาย ที่คนส่วนใหญ่อาจละเลย ขาดการเอาใจใส่ไม่เหมือนผิวหน้า โดยวาสลีนเชื่อว่าเมื่อทุกท่านได้รับรู้ รับฟังและเข้าใจถึงความอัศจรรย์ของผิวแล้วก็จะหันมาให้ความสำคัญกับการดูแลและถนอมสุขภาพผิวอย่างถูกวิธีมากยิ่งขึ้น
            วาสลีนศึกษาและเข้าใจธรรมชาติของผิวจึงรู้ว่า..ผิวช่างน่าอัศจรรย์และมีบทบาทที่เรานึกไม่ถึงอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเกราะป้องกันภัยที่ดีที่สุด ปกป้องเราจากอากาศและอุณหภูมิที่แปรผัน ปกป้องเราจากความเปียกชื้นหรือแม้แต่การติดเชื้อ ไม่เพียงเท่านี้ ผิวยังเป็นทั้งสื่อรับความรู้สึกและสัมผัสที่สำคัญของมนุษย์ ส่งสัญญาณบ่งบอกอารมณ์และความรู้สึกของเรา อีกทั้งสามารถรับรู้ถึงสัมผัสต่างๆ ทำให้มนุษย์เราได้ เรียนรู้โลกกว้างและเรียนรู้กันและกัน ผ่านผิวอันน่าอัศจรรย์นั่นเอง
                 ด้วยวิทยาการด้านผิวพรรณที่ไม่เคยหยุดนิ่ง วาสลีนได้ปรับสูตรโลชั่นบำรุงผิวใหม่ทั้งหมด โดยปรับปรุง 3 สูตรหลักได้แก่วาสลีน โททอล มอยซ์เจอร์ ดราย สกิน โลชั่น (VaselineTotal Moisture Dry Skin Lotion) เพื่อบำรุงผิวแห้งให้ชุ่มชื่นสุขภาพดี วาสลีน โททอล เอจ ดีเฟนส์ เอ็กซ์ตร้า มอยซ์เจอไรซิ่ง โลชั่น (Vaseline Total Age Defense Extra Moisturizing Lotion) เพื่อบำรุงผิวลดเลือนริ้วรอยและวาสลีน เฮลธี้ ไวท์ ยูวี โปรเทคชั่น โลชั่น (Vaseline Healthy White UV Protection Lotion) เพื่อผิวขาวสุขภาพดีอย่างเป็นธรรมชาติ ในขณะเดียวกันก็เปิดตัวโลชั่นบำรุงผิวสูตรใหม่ล่าสุด วาสลีน แอดวานซ์ ฮีลลิ่ง สกิน โปรเทคแทนต์ โลชั่น (Vaseline Advanced Healing Skin Protectant Lotion) เพื่อผิวแห้งมากที่ต้องการปกป้องดูแลมากเป็นพิเศษ
สินค้าในกลุ่ม
วาสลีน ยูวี ครีมและโลชัน
วาสลีน แอ็ดวานซ์ ฮีลลิ่ง
วาสลีน โทเทิล เอจ
วาสลีน โทเทิล มอยซ์เจอร์
วาสลีน ครีมบำรุงมือและเล็บ
ครีมอาบน้ำ
วาสลีน อะโล คูล แอนด์ เฟรช
วาสลีน ฟอร์เมน

เศรษฐกิจพอเพียง

เศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ
แนวคิด
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทางสายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลอดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์ และการอยู่รวมกันของทุกคนในสังคม
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทย ต้องประสบปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ และ ต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพ เพื่อที่จะยืนหยัดในการพึ่งพาผู้อื่น และ พัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้
เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ
1.       การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค
2.       ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง
ผลที่เกิดขึ้นคือ
  • เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน
  • ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
  • รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก
หลักปรัชญา
...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้องด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...

เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน ทั้งนี้ เศรษฐกิจพอเพียงเป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง

แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไข
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านช่องทางสื่อต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้" และ "คุณธรรม"
ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง อธิบายถึงการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ว่า เป็นการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนการใช้ความรู้ ความรอบคอบละคุณธรรมประกอบการวางแผน การตัดสินใจและการกระทำต่างๆ ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดี ที่ไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่พอประมาณ ความมีเหตุผล หมายถึง การใช้หลักเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ การมีภูมิคุ้มกันที่ดี หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงรอบตัว ปัจจัยเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องอาศัยความรู้ และคุณธรรม เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน กล่าวคือ เงื่อนไขความรู้ หมายถึง ความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังในการดำเนินชีวิตและการประกอบการงาน ส่วนเงื่อนไขคุณธรรม คือ การยึดถือคุณธรรมต่างๆ อาทิ ความซื่อสัตย์สุจริต ความอดทน ความเพียร การมุ่งต่อประโยชน์ส่วนรวมและการแบ่งปัน ฯลฯ ตลอดเวลาที่ประยุกต์ใช้ปรัชญา
อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"
ระบบเศรษฐกิจพอเพียงมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต
ซึ่ง ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวว่า "หลาย ๆ คนกลับมาใช้ชีวิตอย่างคนจน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้าสู่คุณภาพ" และ "การลงมือทำด้วยความมีเหตุมีผล เป็นคุณค่าของเศรษฐกิจพอเพียง"
การนำไปใช้ในประเทศไทย
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท[11]
แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) ความว่า: "บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ"
นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ Burkina Faso ว่า ประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ของไทยเติบโตได้ถึงร้อยละ 6.7

นอกประเทศไทย
การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำพัฒนาประเทศในต่างประเทศนั้น ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ โดยมีหน้าที่ คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศได้ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี และประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ โดยได้ให้ผู้แทนจากประเทศเหล่านี้ได้มาดูงานในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง และรัฐมนตรีประจำกระทรวงต่าง ๆ
นอกจากนั้นอดิเทพ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง[ เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของพระองค์ และทราบสาเหตุที่รัฐบาลไทยนำมาเป็นนโยบาย ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่น
ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล ได้กล่าวถึงผลสำเร็จอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจพอเพียงโดยองค์การสหประชาชาติ คือ "สหประชาชาติเห็นด้วยกับพระมหากษัติรย์ในเรื่องนี้ [เศรษฐกิจพอเพียง] โดยเริ่มใช้มาตรวัดคุณภาพชีวิตในการวัดความเจริญของแต่ละประเทศ แทนอัตราผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ซึ่งกล่าวถึงแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเท่านั้น"
การตอบรับ
ความเข้าใจของประชาชนชาวไทย
ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่กล้าวิเคราะห์หรือตั้งคำถามต่อตัวปรัชญา เนื่องจากเป็นปรัชญาของพระมหากษัตริย์ ความชอบธรรมให้กับการพัฒนารูปแบบใด หรือมีนัยยะทางการเมืองอะไรอยู่เบื้องหลัง
การเชิดชู
13 นักคิดระดับโลกเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนำเสนอบทความ บทสัมภาษณ์ เป็นการยื่นข้อเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่โลก เช่น
  • ศจ. ดร. วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของเยอรมนี สนใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก และมองว่าน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกชาติในเวลานี้ ทั้งมีแนวคิดผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี
  • ศจ. ดร.อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี ค.ศ. 1998 มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการใช้สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และใช้โอกาสให้พอเพียงกับชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการ แต่ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้ดีพอ อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของรายได้และความร่ำรวย แต่ให้มองที่คุณค่าของชีวิตมนุษย์
  • นายจิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน ให้ทรรศนะว่า หากประเทศไทยกำหนดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวาระระดับชาติ และดำเนินตามแนวทางนี้อย่างจริงจัง "ผมว่าประเทศไทยสามารถสร้างโลกใบใหม่จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชีวิตที่ยั่งยืน และสุดท้ายจะไม่หยุดเพียงแค่ในประเทศ แต่จะเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ไทยก็คือผู้นำ"
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงว่า เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ และสามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด
และนาย Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติในประเทศไทย กล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และยังได้ตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และองค์การสหประชาชาติยังได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศให้ยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน
การวิพากษ์
อย่างไรก็ตาม ศ. ดร. เควิน ฮิววิสัน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา แชพเพลฮิลล์ ได้วิจารณ์รายงานขององค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ ที่ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่า รายงานฉบับดังกล่าวไม่ได้มีเนื้อหาสนับสนุนว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็น ทางเลือกที่จำเป็นมากสำหรับโลกที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางที่ไม่ยั่งยืนอยู่ในขณะนี้ เลย และกล่าวว่าเนื้อหาในรายงานแทบทั้งหมดเป็นเพียงการเทิดพระเกียรติ และเป็นเพียงเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อภายในประเทศเท่านั้น ส่วน Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ กล่าวว่า "สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติต้องการที่จะทำให้เกิดการอภิปรายพิจารณาเรื่องนี้ แต่การอภิปรายดังกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจสุ่มเสี่ยงต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษถึงจำคุก"
นอกจากนี้ ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์อีกว่าแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นรูปแบบที่ไม่มีความแตกต่างไปจาก "ความนิยมท้องถิ่น" (Localism) เลย และยังมีชาวต่างชาติอีกมากที่ยังไม่เข้าใจว่าแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แท้จริงแล้วหมายถึงอะไร